ข่าวสาร

TSS Newsletter

ในเรื่องระบบส่งเอกสารและวัสดุโดยอาศัยปริมาตรลมที่ได้จาก Blower ตามจำนวนลูกบาศก์ฟุตต่อนาทีหรือ Cubic feet per minuteหรือ CFM นั้น , ลูกกระสวย (Carrier) ซึ่งถูกบรรจุลงในสถานีรับ-ส่ง, ถูกขับเคลื่อนออกไปโดยปริมาตรลมที่แรงดันคงที่ต่อนาทีทำให้การเคลื่อนไปหรือกลับภายในท่อส่ง (Tube) นั้น มีอัตราคงที่ จนถึงจุดหรือสถานีปลายทาง ซึ่งได้กล่าวในฉบับก่อนเกี่ยวกับการคำนวณหาค่าคุ้มทุน (Return of Investment) หรือ ROI

สำหรับในฉบับนี้จะกล่าวเกี่ยวกับการสำรวจออกแบบตามตำแหน่งที่กำหนดว่าจะเป็นจุดหรือสถานีรับ, สถานีส่ง, สถานีรับและส่ง ดังนี้ คือ

  1. สถานีรับ หมายถึงตำแหน่งที่กระสวยจะถูกส่งมา ณ สถานีนั้น ๆ เพียงทางเดียวไม่มีการส่งกลับ เช่น การส่งเอกสารสำคัญมา ณ ตำแหน่งสำคัญ โดยไม่มีการส่งออกกลับหรือการรับ ณ ตำแหน่งตู้นิรภัย เป็นต้น
  2. สถานีส่ง หมายถึงในทำนองเดียวกัน โดยสามารถจัดส่งได้เท่านั้น ไม่มีการรับลูกกระสวยกลับ, เช่น ตำแหน่งส่งไปรษณีย์ (Mail Station) หรือตำแหน่งเก็บเงิน (CASHIER DESK) ทำหน้าที่ส่งเงินไปเท่านั้น ไม่มีการส่งกลับ เป็นต้น
  3. สถานีรับ-ส่ง หมายถึงสถานีที่ทำหน้าที่ทั้งรับและส่งเป็นต้น, เป็น 2 ทาง ทั้งทางส่งและทางรับลูกกระสวย เมื่อกำหนดตำแหน่งสถานีที่ต้องการ, การกำหนดแนวท่อลม คือหลักการดังนี้ คือ
    1. ระยะทางท่อลม ที่สั้นที่สุด
    2. แนวท่อลม มีจำนวนโค้งน้อยที่สุด หรือทางเลี้ยวนั่นเอง
    3. ใช้ทางแยก (Diverter) เท่าที่จำเป็นในการแยกทางเดินท่อไปสู่ตำแหน่งอื่น ๆ เช่น ตำแหน่ง A สามารถส่งกระสวยไปยังตำแหน่ง B และ C ได้ โดยอาศัยทางแยก, เป็นต้น
  4. แหล่งกำเนิดจ่ายกระแสไฟฟ้า อยู่ใกล้และเป็นแหล่งไฟฟ้าสำรอง หรือ ฉุกเฉินในกรณีไฟฟ้าหลักดับลง, ระบบยังสามารถจัดส่งเอกสารและพัสดุไปยังจุดหมายได้, เช่น กรณีในโรงพยาบาลการจัดส่งเลือด, เนื้อเยื่อ เป็นต้น
  5. ระบบท่อลมอยู่ห่างจากความร้อนสูง เช่น ท่อไอน้ำ, ท่อไอเสีย เป็นต้น และกำหนดแนวท่อให้อยู่ภายในอาคาร เท่าที่เป็นไปได้
  6. ความสูงของแนวท่อ ถ้าเป็นไปได้ให้มีความสูงเพียงพอต่อการเข้าบำรุงรักษาหรือตรวจสอบสภาพได้ จะเป็นประโยชน์ในกรณีดูแลบำรุงรักษา
  7. ตำแหน่งเครื่องเป่าลม (Blower) ให้อยู่ในพื้นที่สะอาด, มีการปรับอากาศหรือการระบายอากาศที่เพียงพอ, ทำการเข้าตรวจสอบบำรุงรักษาได้โดยง่าย, เป็นต้น
  8. การกำหนดแนวท่อลมในช่องบริการ (SERVICE SHAFT OR RISER) ให้ใช้ช่องบริการของระบบไฟฟ้าแรงต่ำ (Electrical Riser L.V. เท่านั้น) เพื่อประโยชน์ในการดูแลบำรุงรักษาต่อ ๆ ไป
  9. สายสัญญาณ (Signal Control Cable) เป็นลักษณะและชนิด Signalling Control Cable with Shielded หรือสายสัญญาณประเภทข้อมูล, ซึ่งในปัจจุบันการส่งสัญญาณควบคุมและข้อมูลของระบบควบคุมจะมีลักษณะและประเภทของระบบ LAN (Local Area Network) ซึ่งเป็นระบบ CAN (Control Area Network) การกำหนดแนวการติดตั้งควบคู่ไปกับแนวท่อลม, โดยการรัดแนบไปกับท่อลมหรือการเดินท่อโลหะ (Electrical Conduit) ซึ่งสามารถทำการติดตั้งได้ในกรณีเพื่อป้องกันความเสียหาย, สูญหายของสายสัญญาณ, โดยทั่วไปสายสัญญาณเป็นลักษณะความต่างศักดาต่ำ (Low Voltage D.C. Signalling) ซึ่งอาจไม่มีความจำเป็นที่จะติดตั้งร้อยสายภายในท่อโลหะ, เป็นต้น
  10. การกำหนดระดับเสียงของชุดเครื่องเป่าลม (Blower) อาจทำการกรุลดอัตราของคลื่นเสียงในกรณีที่จำเป็น ซึ่งโดยทั่วไปเครื่องเป่าลม (Blower) จะมีระดับเสียงประมาณ 50 – 55 dB ที่ระยะ 1.5 เมตร ที่ความถี่ประมาณ 2000 Hz เมื่อทำการติดตั้งในห้องเครื่องอุปกรณ์ต่าง ๆ อาจไม่จำเป็นต้องกรุผนังลดอัตราเสียง, กรณีข้างต้น เป็นข้อวินิจฉัยของแต่ละสถานที่, เป็นต้น

จากการใช้งานในระบบท่อลมซึ่งเกือบเป็นมาตรฐานเดียวกันคือความเร็วกระสวยที่ระยะ 5 – 6 เมตรต่อวินาทีนั้น ๆ สามารถกำหนดจำนวนสถานีสูงสุดที่จำนวน 17 สถานี ในความยาวรวมของระบบไม่เกิน 400 เมตร เป็นพื้นฐานการออกแบบและกำหนดพื้นที่ใช้สอยของระบบท่อลม เพื่อมิให้อัตราการรอการส่งเกินกว่า 2 นาที ซึ่งจากการใช้งานข้อมูลข้างต้น เป็นเพียงการกำหนดจากสถิติการใช้ 700 – 800 ครั้งต่อวันภายใน 8 – 10 ชั่วโมง เป็นต้น

ในระบบท่อลมรับ-ส่งเอกสารพัสดุนี้ยังสามารถกำหนดและออกแบบให้มีผู้รับได้ถึง 10 – 15 ผู้รับต่อหนึ่งสถานี โดยแม้ว่ามีสถานีรับเพียง 1 ตำแหน่ง โดยอาศัยสัญญาณแจ้งไปยังผู้รับนั้น ๆ ด้วยระบบสัญญาณเสียงในแต่ละพื้นที่เป็นต้น

Top